ทำความรู้จัก กับ บ้านอิฐแดง สวยๆ
ทำความรู้จัก กับ บ้านอิฐแดง สำหรับวัสดุหลักของบ้านอิฐมอญ ก็คือบล็อกอิฐสีแดง ๆที่ผลิตมาจากการนำดินเหนียวปนทรายผสมแกลบและขี้เถ้า นำมาเผา จนกลายเป็นอิฐสีแดงที่มีความแข็งแรง คงทน เดิมอิฐมอญนั้น เป็นหนึ่งในวัสดุหลักที่มักจะในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ เนื่องจากตัวอิฐมีน้ำหนักเบา เล็ก แต่แข็งแรง และสามารถนำมาประกอบเป็นโครงสร้างบ้านได้ง่าย
แต่ก่อนหน้านี้อาจจะไม่ค่อยเห็นบ้านที่โชว์ให้เห็นอิฐมอญมากนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป การ บ้านโชว์อิฐมอญ เปลือยกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะสีสันที่สดใสของตัวอิฐมอญเอง บ้านอิฐมอญเปลือย จึงให้ความรู้สึกกึ่งลอฟต์ (Loft) กึ่งวินเทจ แต่ไม่ดูร้าง หรือให้ความรู้สึกหม่นหมอง กลับกันมันเข้ากันได้ดีกับสีเขียวของพุ่มไม้ ไม้เลื้อย หรือวัสดุแบบไม้ที่ทาสีสันต่าง ๆ ให้สไตล์บ้านอิฐมอญในต่างประเทศไปอีกขั้น
ประวัติอิฐมอญ / อิฐแดง
ย้อนกลับไปในอดีตชาวมอญ ได้อพยพเข้ามาตั้งภูมิลำเนาในประเทศไทย นับตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ บางกลุ่มได้เริ่มประกอบอาชีพที่ตนเชี่ยวชาญนั่นคือ วิธีการทำอิฐดินเผา ด้วยคุณภาพของอิฐดินเผาชาวมอญ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและมีการเรียกอิฐดินเผาชนิดนี้ในเวลาต่อมาว่า อิฐมอญแดง อิฐมอญ ในยุคแรกอิฐมอญมีขนาดค่อนข้างใหญ่ก่อนจะมีวิวัฒนาการจนกระทั่งมาถึงอิฐมอญยุคปัจจุบันที่ทำเป็นก้อนเล็กๆเพื่อความสะดวกในการก่อสร้าง อิฐมอญเปลี่ยนเป็นส่วนประกอบในงานก่อสร้างอาคาร บ้านเรือนของชาวไทย
อิฐมอญถูกนำไปใช้ทำโครงสร้างรองรับโบสถ์ วิหาร กำแพง ใช้แทนเสาเข็ม ก่อเป็นเสา รวมทั้งใช้ทำถนน เมื่อถึงยุคที่สถาปัตยกรรมตะวันตกเข้ามา มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตรวมทั้งค่านิยมของชาวไทย จึงเริ่มเปลี่ยนแปลงค่านิยมจากการสร้างบ้านด้วยไม้ขยับขยายไปเป็นอาคารแบบตะวันตก อิฐมอญ ก็ยังได้รับความไว้วางใจให้เป็นส่วนประกอบสำคัญ และไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร อิฐมอญก็ถูกปรับใช้งานกับสิ่งก่อสร้าง อาคารบ้านเรือนใหม่ๆอย่างต่อเนื่องโดยตลอดอย่างสม่ำเสมอ
ประกอบอาชีพการทำอิฐมอญ ของชุมชนชาวมอญ
ชุมชนชาวมอญในประเทศไทยที่ประกอบอาชีพการทำ อิฐมอญ มีหลายแห่ง มีแหล่งอุตสาหกรรมการผลิตอิฐที่สำคัญ ได้แก่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ และอีกหลายอำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่เดิมดินที่นำมาทำอิฐมอญเป็นดินจากแม่น้ำ มีเนื้อละเอียดปนทราย ซึ่งเป็นคุณลักษณะพิเศษคือ ไม่เหนียวมากเกินไป แต่ปัจจุบันดินแม่น้ำต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก จึงหันมาใช้ดินจากพื้นที่ลุ่ม มีคุณสมบัติเหมือนดินแม่น้ำ
กล่าวคือเป็นดินสองชั้น ชั้นบนเป็นดิน เหนียวปนทรายมาก ส่วนชั้นล่างเป็นดินเหนียวล้วน ๆ เมื่อขุดมารวมกัน ก็จะได้ดินเหนียวปนทรายเนื้อดี นอกจากดินแล้ว ยังประกอบด้วยแกลบ และขี้เถ้า เป็นส่วนประกอบสำคัญ ก่อนจะผสมให้เข้ากัน ตากแห้ง และเข้าเตาเผา อิฐที่ดีจะมีสีส้มสดทั่วทั้งก้อน แกร่ง มีคุณภาพสามารถนำไปใช้งานได้ทันที อาชีพการทำอิฐมอญและเครื่องปั้นดินเผา ถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวมอญมาแต่โบราณ และมีการสืบทอดมาสู่ลูกหลานกระทั่งปัจจุบัน โรงแรมภูเก็ต
แม้คนมอญที่ประกอบอาชีพนี้จะล้มหายตายจากไป แต่ชื่อ”อิฐมอญ” ก็ยังคงอยู่ตลอดไป อาชีพชาวไทยรามัญนิยมทำอิฐเผา ปั้นหม้อ ตุ่ม กระถาง ฯลฯ และทำได้อย่างวิจิตรงดงาม มีคุณภาพ เจ้านายในวังผ่านไปมาเห็นคนมอญทำอิฐเผาสร้างวัด จึงได้สั่งเข้าไปก่อสร้างในวัง ต่อมาเห็นว่ามีความแข็งแรงทนทาน จึงนิยมนำไปใช้ในการก่อสร้างครั้งต่อ ๆ มา จนได้ชื่อเป็นที่กล่าวขนานกันเป็นสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่คนไทยทั้งประเทศรู้จักว่า “ อิฐมอญ” เรียกชื่อตามคนที่ทำ
หรือ เรียกชื่อตามสถานที่แหล่งที่ผลิต เช่น เรียกโอ่งใส่น้ำขนาดใหญ่ว่า ตุ่มสามโคกเพราะทำที่สามโคก เรียกหม้อหุงข้าว หรือ หม้อต้มยาดินเผาว่า หม้อบางตะนาวศรี เพราะทำที่บางตะนาวศรี ดั้งนั้น อิฐมอญ จึงเป็นสัญลักษณ์สินค้าแห่งคุณภาพจากการศึกษาสืบทอดทางวัฒนธรรมที่เป็นไปอย่างมั่งคงทำให้เครื่องปั้นดินเผาของไทยรามัญปรากฏเป็นหลักฐานการทำเครื่องปั้นดินเผาอยู่กระทั่งทุกวันนี้
ประเภทของอิฐมอญในปัจจุบัน
ปัจจุบัน “อิฐแดง” หรือ “อิฐมอญ” ถูกพัฒนาให้มีหลากหลายรูปแบบเพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่สะดวกสะบายมากขึ้น ซึ่งจะมี ดังนี้
- อิฐแดง 4 รู
- อิฐแดง 2 รูใหญ่
- อิฐแดงตันเครื่อง
- อิฐแดง 3 รู จนถึงอิฐแดง 8 รู
- ดูดความชื้น
- สะสมความร้อน
- อิฐมอญส่วนใหญ่ ผลิตจากชุมชน อาจมีคุณภาพ มาตรฐาน และขนาดไม่สม่ำเสมอ
- มีคุณสมบัติอมความร้อน ส่งผลทำให้บ้านร้อนได้
- มีขนาดเล็ก จึงใช้เวลาก่อสร้างค่อนข้างนาน และค่าแรงก่อสร้างแพง
- ค่อนข้างมีปัญหาเรื่องการเก็บเสียง
นอกจากนั้นยังมีคุณภาพ มาตรฐานเป็นไปตามที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนด มีความแข็งแกร่ง ทนทาน สามารถใช้งานได้อย่างมั่นใจ และปลอดภัยนั่นเอง นอกจากเราจะทราบข้อมูลเบื้องต้นของ อิฐมอญแล้วนั้น เรามาดูถึงข้อเสีย และการใช้งานกันเพิ่มเติมดีกว่า
ข้อเสียของอิฐมอญ
- มีน้ำหนักเยอะ นำมาใช้งานยาก เพราะขนาดไม่ตายตัว
- อาจทำให้บ้านหรือสิ่งปลูกสร้างของคุณสะสมความร้อน เนื่องจากอิฐมอญเป็นวัสดุที่สะสมความร้อน และไม่มีอาการถ่ายเทนั่นเอง
- ช่วยป้องกันเสียงเข้ามาในตัวบ้านอีกด้วย
- ดูดความชื้น
- สะสมความร้อน
- อิฐมอญส่วนใหญ่ ผลิตจากชุมชน อาจมีคุณภาพ มาตรฐาน และขนาดไม่สม่ำเสมอ
- มีคุณสมบัติอมความร้อน ส่งผลทำให้บ้านร้อนได้
- มีขนาดเล็ก จึงใช้เวลาก่อสร้างค่อนข้างนาน และค่าแรงก่อสร้างแพง
ข้อดีอิฐมอญ
- สามารถยึดเกาะได้ดี มีความหนาแน่นสูง
- แข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศในไทย
- หาซื้อได้ง่าย มีราคาไม่แพง
- สามารถทนไฟ ได้ประมาณ 2 ชั่วโมง
- สามารถรับน้ำหนักได้ 30 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเซนติเมตร phuket property
- เป็นอิฐ ที่เกิดจากกระบวนการผลิต ด้วยการเผาตามภูมิปัญญาชาวบ้าน จึงทำให้มีสีสัน ที่มีความคลาสสิค เป็นเสน่ห์ ที่หลายคนชื่นชอบ
การใช้งานอิฐ
ต้องทำการก่อด้วยปูนซีเมนต์ผสมทรายหนา 2- 3 ซ.ม. โดยรอบจึงทำให้มีความแข็งแรง ในการรับน้ำหนักสิ่ของด่าง ๆ ไม่นึกว่าจะเป็น ทีวี, ตู้ลอย หรือนำมาใช้กับงานเล็ก ๆ เช่นการเจาะประตูก็ได้เช่นกัน
อิฐมอญแดง ทำไมยังเป็นที่นิยม ?
ผนังบ้าน ที่ก่อสร้างกันอยู่ในเมืองไทย ส่วนใหญ่แล้ว มักจะก่อสร้างขึ้นจากอิฐมอญแดง แม้ว่าปัจจุบัน จะมีวัสดุก่อสร้างชนิดใหม่ ๆ อย่างเช่น อิฐมวลเบา อิฐบล็อก หรือผนังหล่อสำเร็จต่าง ๆ เข้ามา แต่อิฐมอญแดง ก็ยังคงเป็นวัสดุก่อสร้างที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับต้น ๆ
- อิฐมอญ เป็นวัสดุก่อสร้างพื้นฐาน ที่หาซื้อได้ง่าย มีร้านค้าจำหน่ายทั่วประเทศ ไม่จำเป็นต้องสั่งล่วงหน้า หรือต่อให้จำเป็นต้องใช้จำนวนมาก ก็สั่งซื้อได้โดยตรงจากโรงงานได้ไม่ยุ่งยาก
- ขนาดของอิฐมอญ แม้จะหลากหลาย แต่ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก มีให้เลือกทั้งชนิดก้อนเรียบ และชนิดที่เจาะรู บางโรงงาน ยังมีโทนสีต่าง ๆ ให้เลือกอีกด้วย
- วัสดุที่ใช้สำหรับทำงานกับอิฐมอญแดง มีจำหน่ายทั่วไป หาซื้อได้ง่าย แตกต่างจากอิฐมวลเบา ที่ต้องใช้ปูนก่อสำหรับอิฐมวลเบาโดยเฉพาะ ซึ่งหาซื้อได้ยากกว่า และราคาแพงกว่า
- ในส่วนของช่างฝีมือ ช่างอิฐ ช่างปูนทั่วไปก็สามารถก่อ-ฉาบ อิฐมอญแดงได้ ค่าแรงได้มาตรฐาน ส่วนอิฐมวลเบานั้น จำเป็นต้องใช้ช่างฝีมือ หรือช่างที่เคยก่อโดยเฉพาะ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด
- อิฐแดง แม้จะมีน้ำหนักต่อตารางเมตรที่มากกว่าอิฐมวลเบา แต่ก็มีความแข็งแรงมากกว่า รับแรงกระแทกทางด้านข้างได้มากกว่า ต่อให้ก่ออิฐฉาบปูนไว้จนแห้งเรียบร้อยแล้ว ก็ยังสามารถเจาะแขวนเฟอร์นิเจอร์ หรือของตกแต่งได้สะดวก รับน้ำหนักได้มาก ต่างจากอิฐมวลเบา ที่มีรูพรุนมาก แต่รับน้ำหนักได้น้อยกว่า และต้องใช้วัสดุแขวนที่ออกแบบมาเฉพาะเท่านั้น
- โดยทั่วไป หากเทียบกันระหว่างผนังอิฐมอญชั้นเดียว กับผนังอิฐมวลเบา จะพบว่าผนังอิฐมอญ เก็บความร้อนไว้มากกว่า แต่หากต้องการให้บ้านเย็นขึ้น ก็สามารถปรับเปลี่ยนจากผนังก่ออิฐมอญชั้นเดียว เป็นผนัง 2 ชั้นได้ โดยควรเว้นช่องว่างตรงกลางไว้อย่างน้อย 5 เซนติเมตร นอกจากนี้ หากเสริมตรงกลางด้วยแผ่นโฟม หรือ ฉนวลกันความร้อน ก็จะยิ่งทำให้บ้านเย็นขึ้น และเก็บเสียงได้มากขึ้นไปอีก
- ด้วยความที่อิฐมอญแดงนั้นมีความหนาแน่นของเนื้อวัสดุมากกว่าอิฐมวลเบา จึงเหมาะสำหรับ การก่อเป็นผนัง รอบห้องน้ำโดยไม่ต้องกลัว ผนังจะดูดซับความชื้น ซึ่งดีกว่าผนังอิฐมวลเบา ที่มีรูพรุนจำนวนมาก ทำให้น้ำซึมได้ง่าย เกิดความเสียหายลุกลามจนถึงอีกด้าน เช่น สีร่อนพอง, วอลล์เปเปอร์ร่อนเปื่อย, ผนังขึ้นรา เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- อิฐมอญแดงนั้น นอกจากใช้ก่อเป็นผนัง บ้าน ที่แข็งแรงแล้ว ยังนำมาดัดแปลง ตกแต่งสวน หรือก่อเป็นผนังสวยงามได้ง่ายกว่าอิฐมวลเบา
เป็นอย่างไรกันบ้าง ได้ทราบแล้วว่า อิฐมอญ หรือ อิฐแดง มีคุณสมบัติพิเศษอย่างไร รวมถึงข้อดี – ข้อเสีย ของวัสดุประเภทนี้กันไปแล้ว ก่อนที่คิดจะใช้ตกแต่งบ้าน อย่าลืมนำหลักการเหล่านี้ ไปเลือกพิจารณา ก่อนการตัดสินใจกันด้วย