แบบบ้านไม้น่าอยู่

แบบบ้านไม้น่าอยู่ ใช้ชีวิตกับธรรมชาติ ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความสุข

แบบบ้านไม้น่าอยู่ บ้านไม้ ถือเป็นบ้านที่มีคำค้นหามากที่สุดในเว็บไซต์บ้านและสวน อาจเพราะด้วยเสน่ห์ของลวดลายไม้ที่เห็นคราใดก็ทำให้เรารู้สึกอบอุ่นได้ทุกครั้ง บ้านไม้ จึงได้รับความนิยมอย่างไม่เสื่อมคลาย เราจึงขอเอาใจคนที่รักในความเป็นธรรมชาติของบ้านไม้ ด้วยการขนบ้านไม้หลังงามมาให้ชมกันแบบจุใจ มีให้เลือกทุกแบบทุกสไตล์ในหลากหลายขนาด และทำเลเชิญรับชมกันได้เลย 

1.ชีวิตธรรมดาในบ้านไม้ใต้ถุนสูง

แบบบ้านไม้น่าอยู่

บ้านไม้ใต้ถุนสูงแบบไทยๆ ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากบ้านทรงไทยมอญของชุมชนใกล้เคียงในจังหวัดปทุมธานี เน้นการทำช่องเปิดไว้ทางฝั่งทิศตะวันออกให้มากกว่าฝั่งทิศตะวันตก เพื่อเป็นตัวดักความร้อนไม่ให้เข้าถึงพื้นที่พักผ่อนภายในบ้าน อีกทั้งยังวางแผนทำเกษตรผสมผสานตามทฤษฎีของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำให้รู้สึกถึงชีวิตที่อยู่แบบพึ่งพาตัวเองได้

2.บ้านไม้แบบไทยๆ กลิ่นอายโมเดิร์น

แบบบ้านไม้น่าอยู่

บ้านไม้หลังคาจั่วในสไตล์ที่เจ้าของบ้านเปรียบเปรยว่าเหมือนศาลาวัด พร้อมระเบียงรอบด้านที่เปิดรับลมได้ดี มองออกไปเห็นวิวไร่อ้อยที่อยู่ติดกัน ออกแบบให้มีช่องเปิดขนาดใหญ่ เพื่อช่วยให้เกิดการไหลเวียนอากาศที่ดี จนไม่ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศ ชายคามีลักษณะยื่นยาวออกมาจากระเบียงเพื่อการป้องกันแดดที่ดี ทั้งยังกันฝนไม่ให้น้ำจากหลังคาหยดมายังระเบียงด้วย นับเป็นบ้านไม้แบบไทยๆ ที่สร้างทั้งความสบายตาและสบายใจแก่ผู้ใช้งานและผู้พบเห็น  บ้านเดี่ยว บ้านแฝด

3.บ้านใหม่จากไม้เก่า ยกใต้ถุนสูงอยู่กลางสวนมะพร้าว

แบบบ้านไม้น่าอยู่

บ้านหลังนี้สร้างขึ้นด้วยแนวคิดการผสมผสานไม้เก่าหลากประเภทเพื่อให้ได้บ้านไม้หลังใหม่ในงบประมาณที่ไม่สูงเกินไป  พร้อมอาศัยสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่นของสวนผลไม้เก่าในคลองดำเนินสะดวก  ซึ่งมีต้นไม้เยอะ มีร่องน้ำ จึงเหมาะกับการเปิดช่องลมและยกใต้ถุนสูงให้ลมพัดผ่าน  เพื่อช่วยลดทอนความร้อนของอากาศและทำให้บ้านเย็นสบายโดยไม่ต้องอาศัยเครื่องปรับอากาศเลย

4.บ้านดาดฟ้า เหนือหลังคาอพาร์ตเมนต์ใจกลางเมือง

บ้านดาดฟ้าชั้นเดียวบนลานดาดฟ้าอพาร์ตเมนต์ชั้น 5 โดดเด่นด้วยดีไซน์ทรงกล่องแบบโมเดิร์น เเละใช้ไม้เต็งสำหรับต่อทำลังซึ่งมีตำหนิตามธรรมชาติมาเป็นวัสดุหลักในการออกแบบ พร้อมเติมพื้นที่สีเขียวได้อย่างร่มรื่นและอยู่อาศัยได้จริง บ้านเดี่ยว บ้านแฝด

5.เย็นสบายสไตล์ “บ้านไม้ริมน้ำ”

บ้านไม้ริมน้ำ ในเมืองหลังนี้สร้างขึ้นภายใต้แนวคิดบ้านที่มีความเป็นไทยแบบร่วมสมัย ตัวบ้านจึงยกพื้นสูง มีชาน ทำชายคายื่นยาว และผนังไม้ที่มีเส้นสายคล้ายผนังเรือนไทย ส่วนวัสดุก็พยายามนำวัสดุสมัยใหม่มาใช้ เช่น ไม้ ปูน เหล็ก และกระจก  

6. “บ้านบางครุ” สัดสวนที่เหมาะสมของบ้านไม้

บ้านไม้สูง 3 ชั้น ที่มองเห็นถึงศักยภาพของที่ดินผืนนี้ซึ่งได้วิวดีทั้งจากทะเลสาบและคลอง จึงออกแบบให้บ้านตั้งอยู่ในแนวขนานทิศตะวันออกและตะวันตก วางตัวบ้านให้ขวางลมที่มาจากทางทิศใต้ ถอดรหัสเป็นเรือนไทยริมน้ำที่เรียบง่าย ทั้งการยกใต้ถุนสูง มีระเบียงกว้างเป็นชานไม้ขนาดใหญ่ไว้ทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงชายคาโดยรอบบ้านที่ยื่นยาว ป้องกันแดดและฝนได้เป็นอย่างดี นำส่วนบริการของบ้าน เช่น ห้องน้ำและผนังทึบมาบังแดด กันส่วนพักอาศัยให้อยู่ด้านใน ไม่รับแดดโดยตรง ทำให้บ้านอยู่สบาย

7.บ้านไม้ ลมหายใจ

ด้วยความใฝ่ฝันที่อยากมีบ้านไม้บรรยากาศเหมือนบ้านในต่างจังหวัด เจ้าของบ้านจึงตัดสินใจซื้อไม้จากที่ต่างๆมาเก็บสะสมไว้ทั้งไม้ใหม่และไม้ที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว โดยมีแนวคิดในการออกแบบบ้านที่ต้องอยู่สบายทั้งกายและใจ มีความสงบ การตกแต่งภายในเป็นแบบเรียบง่ายด้วยของน้อยชิ้น การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก เปิดโอกาสให้ตัวสถาปัตยกรรมได้แสดงพลังแห่งไม้ออกมาได้อย่างเต็มที่

8. “บ้านใต้ถุนสูงริมคลอง” เป็นสุขตามวิถีชีวิตแบบไทย

บ้านไม้ริมคลองบางมดที่ยังดำรงวิถีชีวิตริมน้ำ และคำนึงถึงหลักการออกแบบใน 3 เรื่อง คือ ออกแบบบ้านให้สอดคล้องกับภูมิอากาศและภูมิประเทศของประเทศไทย ตัวสถาปัตยกรรมต้องส่งเสริมวัฒนธรรมของครอบครัว และการสร้างบ้านให้พอดีกับงบประมาณ 

nice wooden house

9. “เฮือนธรรม” บ้านพื้นถิ่นไทยในขนบแบบญี่ปุ่น

บ้านหลังนี้มีชื่อว่า “เฮือนธรรม” มีจุดเด่นอยู่ที่การออกแบบที่ผสมผสานข้อดีของ บ้านพื้นถิ่นไทย เข้ากับลักษณะพื้นที่ใช้งานของ “บ้านญี่ปุ่น” และเมื่อมองให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ความงามของบ้านหลังนี้คือการที่สถาปัตยกรรมและชีวิตสามารถเรียงร้อยไปด้วยกันได้อย่างสวยงาม และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติและวิถีแห่งความสมถะ

10.บ้านไม้ไผ่ ท่ามกลางธรรมชาติ

ไม้ไผ่เป็นวัสดุที่ทั้งหาง่าย ราคาไม่แพง แถมยังกลมกลืนไปกับสิ่งแวดล้อม จึงทำให้เจ้าของบ้านหลังนี้หลงรักและเลือกใช้ไม้ไผ่คละกันหลายชนิด อย่างโครงสร้างเสา คาน เลือกใช้ไผ่ตงและไผ่ซางหม่นที่มีลำขนาดใหญ่ ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ อย่างหลังคา ฝ้า ผนัง เลือกใช้ไผ่เลี้ยง ซึ่งมีลักษณะลำเล็กกว่า บวกกับการผสมผสานวัสดุสมัยใหม่ สอดคล้องกับวิถีปัจจุบัน และการออกแบบบ้านให้มีอากาศถ่ายเทได้ดี ทำให้บ้านหลังนี้มีสภาวะน่าอยู่เป็นที่สุด  phuket property


wooden house

11.บ้านไม้กลางท้องนาที่เงียบสงบท่ามกลางความร่มรื่น

เพราะหลงรักในบ้านไม้ เจ้าของบ้านจึงพยายามเสาะหาบ้านไม้เก่าจากที่ต่างๆ ในเชียงใหม่มาได้ 5 หลัง แล้วถอดชิ้นส่วนไม้ออกมาเพื่อเลือกใช้งานตามส่วนต่างๆ ของบ้าน โดยเฉพาะโครงคร่าว ฝา และเสา การจัดวางฟังก์ชันใช้สอยของบ้านรับและล้อไปกับพื้นที่รูปทรงตัวแอลที่มีขนาดยาว จึงเอื้อต่อการเปิดช่องหน้าต่างเชื่อมออกไปสู่ท้องฟ้า ทุ่งนา และขุนเขาโดยรอบได้ดี ทำให้ทุกห้องของบ้านสามารถมองเห็นธรรมชาติได้หมด

12.บ้านไม้ชั้นเดียว เกี่ยวหัวใจให้ผ่อนคลาย

บ้านไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูงแสนสงบที่แทรกตัวอยู่กลางธรรมชาติริมฝั่งแม่น้ำนครนายก เป็นที่พักกายพักใจจากชีวิตวุ่นวายในเมืองหลวง จะมีก็เพียงเสียงของธรรมชาติและสายน้ำที่อยู่เบื้องหน้าเท่านั้นที่เห็นเมื่อไรก็ชวนให้หัวใจรู้สึกสดชื่นรื่นรมย์อยู่เสมอ

13.บ้านไม้หลังเล็กกลางร่องสวนเก่า

จากบ้านเก่าที่มีสภาพทรุดโทรม เมื่อนำมาปรับปรุงใหม่ภายใต้งบประมาณ 300,000 บาท เพิ่มพื้นที่ใช้สอย และการใช้งานให้ตรงตามต้องการ เกิดเป็น บ้านไม้ หลังเล็ก กลางร่องสวนเก่าที่แสนน่ารัก ตกแต่งสวยงามตามสไตล์บ้านๆ

14.บ้านไม้หลังเล็ก ความสุขไซส์บิ๊กท่ามกลางสวนยาง

บ้านไม้หลังเล็ก ๆ กลางสวนยาง ถ้ามองจากด้านหน้าจะเห็นเป็นบ้านยกพื้นสูงธรรมดา แต่จริง ๆ แล้วเป็น บ้านสองชั้น หลังคาทรงหน้าจั่ว แต่ยกหลังคาซ้อนขึ้นไปอีกชั้น ทำให้สามารถระบายอากาศร้อนที่ยกตัวสูงออกทางด้านบน และรับแสงสว่างเข้ามาในบ้านในช่วงกลางวัน

15.บ้านไม้หลังเล็กริมสระบัว ได้อารมณ์บ้านต่างจังหวัด

บ้านไม้น่ารักหลังน้อย ที่ออกแบบเป็น บ้านชั้นเดียว สร้างอยู่ริมสระบัว ให้กลิ่นอายแบบบ้านต่างจังหวัด โดยภายในผสมผสาน การตกแต่งหลาก สไตล์ในแบบที่เจ้าของบ้านชื่นชอบ ทั้งเสน่ห์ผ้าอินเดีย สีสันแบบเมดิเตอร์เรเนียน และ การโชว์โครงสร้างเนื้อไม้แบบดิบ ๆ เป็นบ้านที่แต่งตามอำเภอใจ ฉีกตำราการออกแบบ แต่ทำให้เจ้าของบ้านมีความสุขสุดๆไปเลย

16.บ้านไม้สไตล์ปักษ์ใต้ร่วมสมัยแห่งพัทลุง

บ้านไม้สไตล์ปักษ์ใต้ที่เกิดขึ้นจากภาพความทรงจำในวัยเด็กของเจ้าของที่มีต่อบ้านหลังเดิมของคุณตาคุณยาย ผ่านการออกแบบให้เหมาะกับการอยู่อาศัยในยุคปัจจุบัน จนเกิดเป็นเรือนปักษ์ใต้ร่วมสมัยที่เชื่อมโยงคนสามรุ่นไว้ด้วยกัน 

17.เรือนไม้โบราณหลังนี้หัวใจไม่เคยลืม

เรือนไม้โบราณ หลังงามริมถนนตลาดใหม่ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตัวบ้านเป็นเรือนไม้มนิลาซึ่งเป็นการผสมระหว่างหลังคาจั่วกับหลังคาปั้นหยา โดยแบบหลังเป็นเอกลักษณ์ของบ้านในภาคใต้ และยังคงเก็บรายละเอียดของอาคารไม้หลังเก่าได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของหน้าต่างไม้ที่มีช่องกระจกสีด้านบน พื้นกระดานไม้เคี่ยมซึ่งหาได้ยากในปัจจุบัน

หรือช่องลมลายฉลุที่บอกเล่าถึงความประณีตของงานช่างสมัยก่อน เฟอร์นิเจอร์และของประดับส่วนใหญ่เป็นของเก่าที่สมาชิกในครอบครัวเก็บสะสมเอาไว้ หรือของที่หาได้ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพื้นที่ใกล้เคียง ด้วยความต้องการของเจ้าของบ้านที่ไม่อยากให้ศิลปะพื้นถิ่นหายสาบสูญไป บ้านหลังนี้ยังได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นประจำปี 2554 อีกด้วย


ancient wooden house

18.บ้านไม้สองชั้นที่เล่าเรื่องไทยอีสานสมัยใหม่ในบริบทเดิม

บ้านไทยอีสานที่กลมกลืนไปกับบริบทของสังคมชนบทในจังหวัดอุดรธานี ไม่ว่าจะเป็นรั้ว บ้าน ที่มองเห็นกันได้ระหว่างภายในกับภายนอกบ้าน ชานระเบียงต่าง ๆ ที่ทำให้การใช้ชีวิตมีความเชื่อมโยงกับพื้นที่ภายนอก หรือลานหน้าบ้านที่มักกลายเป็นที่วิ่งเล่นของเด็ก ๆ ในละแวกบ้าน โครงสร้างหลักของบ้านหลังนี้เลือกใช้โครงเหล็ก H-Beam ส่วนการออกแบบภายในเน้น “ความโปร่ง” นอกจากจะสบายตาแล้ว ยังช่วยให้กระแสลมในบ้านพัดผ่านได้ดี ทำให้ทั้งบ้านอยู่ในสภาวะน่าสบาย ไม่ร้อนอับ

19.บ้านรับรองแขกในเรือนยุ้งข้าว

บ้านรับรองแขกที่ดัดแปลงจากเรือนยุ้งข้าวเก่า โดยอิงงานสถาปัตยกรรมแบบล้านนา แต่ปรับขนาดให้สามารถอยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบาย ในส่วนของงานตกแต่งก็ใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เพิ่มความสวยงามด้วยรายละเอียดของงานไม้แกะ เฟอร์นิเจอร์สไตล์ไทยแบบขาสิงห์และขาคู้ เก้าอี้หวาย หรืองานเซรามิกโทนสีบลูแอนด์ไวท์ นอกจากนี้ยังใช้วัสดุธรรมชาติอย่างหินอ่อนและหินธรรมชาติ ซึ่งเก็บความเย็นได้ดี เมื่อรวมกับการออกแบบบ้านให้เปิดโล่งกลมกลืนไปกับธรรมชาติ ก็ช่วยสร้างบรรยากาศที่ทั้งน่าอยู่และเย็นสบายได้ไม่ยาก